การกำหนดปัญหาการวิจัย

ปัญหาเพศสัมพันธ์ระหว่างเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ปี

ปัจจุบันปัญหาในเด็กและเยาวชนนอกจาก ปัญหาเด็กติดเกมส์ออนไลน์ ติดยาเสพติด หรือแม้แต่การติดการพนันแล้ว วัยรุ่นในปัจจุบันยังมีปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรอีกด้วย ปัญหาดังกล่าวมิได้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของเด็กไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่ออนาคตของชาติอีกด้วย เนื่องจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมส่งผลให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูบุตร และตามมาด้วยปัญหาทางด้านการเงิน เพราะไม่มีงานทำซึ่งอาจนำไปปัญหาการประกอบอาชีพที่ผิด กฎหมายได้ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาสำคัญทั้งผู้ใหญ่และเด็กควรทำความเข้าใจเพื่อป้องกันปัญหามีเพศสัมพันธ์หรือปัญหาการท้องไม่พร้อม
 เพศสัมพันธ์ ทำให้มีการตั้งครรภ์ และกำเนิดชีวิตใหม่ขึ้นมาขบวนการเช่นนี้จะพร้อมที่ จะทำงานได้เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น นั้นคือ เมื่อหญิงสาวเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก และผู้ชายเริ่มมีการหลั่งน้ำอสุจิ ในขณะหลับที่เรียกกันว่าฝันเปียกนั่นเอง ตามปกติคนเราจะมีเพศสัมพันธ์ที่สังคมยอมรับได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลง ปลงใจอยู่ร่วมกันเป็นสามี ภรรยา หรือ เพราะจะเกิดผลตามมาอีกมากมาย เช่น การตั้งครรภ์ ในวัยเรียน หรือขณะที่ยังไม่พร้อมเกิดโรคติดเชื้อทางเพศการถูกมองอย่างดูถูกของสังคม การเลิกรากันอย่างรวดเร็ว และถ้าลงเอยด้วยการมีลูกก่อนอายุ 20 ปี มักจะพบว่ามีปัญหาในการเลี้ยงลูกมีปัญหาในชีวิตครอบครัว และมักหย่าร้างแยกทางกัน ในที่สุดที่สำคัญคือวัยรุ่นจะเสียโอกาสในการศึกษา ในการเรียนรู้ชีวิตในวัยรุ่น และพลาดโอกาสที่จะมีอนาคตที่มีผ
สรุป ปัญหาเพศสัมพันธ์ระหว่างเด็กมีอายุต่ำกว่า ๑๘ปี หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางธรรมชาติของเด็กหญิงและชายที่มีอายุยังไม่ถึง ๑๘ปี โดยมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างอวัยวะทางเพศ

แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย
จากข้อมูลการสำรวจของหน่วยงานต่างๆพบว่า อายุของผู้ที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 - 2552 โดยอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก มีอายุระหว่าง 15-16 ปี

ตารางที่ 1 แสดงอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจำแนกตามแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล
อายุเฉลี่ย (ปี)
  สถาบันวิจัยะระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2539
18-19
  สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พ.ศ. 2545
15-16
  เอแบคโพลล์ พ.ศ. 2547
15-16
  อนามัยโพลล์ พ.ศ. 2552
15-16

ตารางที่ แสดงสถานที่ที่นักเรียนร่วมเพศครั้งแรก (ร้อยละ)

สถานที่
2552
เพศ
ม.2
ม.5
ปวช.2
2552
ม.2
ม.5
ปวช.2

บ้านเพื่อน/บ้านตัวเอง
ชาย
74.2
72.0
66.9
หญิง
67.2
67.8
59.6
67.9
72.0
64.0
62.7
63.5
57.9
โรงแรม/อพาร์ทเมนท์/ห้องเช่า(ชั่วคราว)
ชาย
8.0
13.8
12.4
หญิง
7.0
12.6
12.5
9.9
12.7
13.5
14.8
14.8
13.2
หอพัก
ชาย
11.9
11.6
18.4
หญิง
10.4
11.5
20.2
13.1
11.9
19.7
9.3
11.6
20.2
อื่นๆ
ชาย
5.9
2.6
2.3
หญิง
15.4
8.1
7.7
9.1
3.4
2.8
13.2
10.1
8.7

ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
คนเราไม่ควรมองข้ามจากการมีเพศสัมพันธ์ คือ เรื่องความปลอดภัย เพราะในปัจจุบันพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาชีวิตและสุขภาพหลายลักษณะ ได้แก่การติดโรคทาเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาทางสังคม ทั้งที่เป็นผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจะช่วยป้องกันปัญหาที่กล่าวมา และส่งผลให้คนเราดำรงชีวิตได้เป็นปกติสุข
นักเรียนในฐานะที่เป็นวัยรุ่นและเข้าสู่ ความพร้อมด้านวุฒิภาวะทางเพศ ควรให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เพิ่มขึ้นด้วยการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจถึงปัญหาและผลที่จะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมความเสี่ยงจากการมีเพศ สัมพันธ์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ปัญหาในการกำหนดปัญหาวิจัย
                1. ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่พร้อม
ความ พร้อมในการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่อง สำคัญต่อชีวิตวัยรุ่นเป็นอย่างมาก เพราะหมายถึงการมีชีวิตที่ดีในอนาคตของวัยรุ่นด้วย ซึ่ง ความพร้อม ในที่นี้ คือ การมีวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์พร้อมที่จะรับผิดชอบและแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ และโดยธรรมชาติตามวัยแล้ว สภาพทางสรีรวิทยาของวัยรุ่นหญิงตอนต้นยังเจริญไม่สมบูรณ์เต็มที่ต่อการเอื้อ ให้กำเนิดทารก และพบว่าหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะคลอดบุตรไม่สมบูรณ์ แข็งแรงหรืออาจคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่วัยรุ่นควรรับรู้ในการตัดสินใจมีความสัมพันธ์ทางเพศ กับคู่รักหรือผู้อื่น วัยรุ่นหญิงควรคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบมากกว่าวัยรุ่นชาย เพราะผลกระทบจะเกิดขึ้นกับตนเองได้มากกว่าผู้ชาย ทั้งเรื่องการแบกรับภาระในขณะยังไม่พร้อม รวมทั้งแรงกดดันทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้
ดัง นั้น ถ้ายังไม่พร้อมหรือยังไม่แน่ใจ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันมากพอ ไม่พร้อมหรือยังไม่แน่ใจในความสัมพันธ์ระหว่างกันมากพอ ไม่พร้อมจะผูกพันทั้งทางกายและทางใจ หรือร่วมทุกข์ร่วมสุขและรับผิดชอบร่วมกันในระยะยาวก็ควรงดพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การมีเพศสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ
2. ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์จากการถูกล่อลวงหรือใช้กำลังบังคับ
ปัญหาหนึ่งที่พบมากและก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยคือ การถูกล่อลวง หรือใช้กำลังบังคับให้มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่เต็มใจ เช่น การถูกข่มขืนกระทำชำเรา การลวนลามถูกเนื้อต้องตัว เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้มักเป็นไปโดยขาดการควบคุมป้องกัน และส่วนใหญ่ผู้เคราะห์ร้ายจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งผลกระทบที่ตามมาคือ อาจเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึ่งประสงค์หรือติดโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรมต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสียอนาคตที่ดี
เพศหญิงในฐานะที่มีกำลังต่อสู้ป้องกันตัว น้อยกว่าเพศชาย มีความดึงดูดในทางสรีระร่างกายมากกว่าเพศชาย อีกทั้งยังมีความละเอียดอ่อนในหลายเรื่องที่แตกต่างจากเพศชาย ถ้าพลาดพลั้งโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า อาจถูกล่อลวงหรือถูกบังคับให้มีความสัมพันธ์ทางเพศโดยไม่เต็มใจได้ จึงควรระมัดระวังตัวไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักความปลอดภัยในการเดินทางความปลอดภัยจากคนแปลกหน้า หรือความปลอดภัยจากการแต่งกาย
3. ปัญหาจากความเชื่อและค่านิยมที่ผิดในการมีเพศสัมพันธ์
ความ เชื่อและค่านิยมบางลักษณะเป็นปัญหาที่ นำมาสู่ความไม่ปลอดภัยทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น การสวมถุงยางอนามัยจะทำให้ขาดรสชาติทางเพศ การแสดงความรักระหว่างเพศด้วยการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่รักหลายคนที่นิยมเรียกว่ากิ๊ก การเปลี่ยนคู่ควงและคู่นอน หรือแม้แต่การนัดพบปะและรู้จักเพียงผิวเผินในระยะเวลาอันสั้น แล้วตัดสินใจมีความสัมพันธ์ทางเพศโดยขาดการป้องกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศหรือโรคเอดส์ได้ง่าย ๆ จึงไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว เพราะผู้ที่จะได้รับปัญหาความทุกข์ความเดือดร้อนก็คือตัวของวัยรุ่นโดยตรง นั้นเอง

ข้อมูลจากการค้นคว้าจากเว็บไซต์ และหนังสืออื่น

0 comments:

แสดงความคิดเห็น