บทที่ 2 กลุ่มและทฤษฎีทางสังคม





1. วิวัฒนาการลัทธิการเมือง


เพลโต  (427 ปีก่อนคริสตกาล)
- ราชาธิปไตย ทรราษฎร์, ทุชนาธิปไตย
- อภิชนาธิปไตย -  คณาธิปไตย
- ประชาธิปไตย  - ฝูงชน
อริสโตเติล (384 ปีก่อนคริสตกาล)
- ราชาธิปไตย ทรราษฎร์, ทุชนาธิปไตย
- อภิชนาธิปไตย -  คณาธิปไตย
- โพลิตี - ฝูงชน
- ประชาธิปไตย  - ฝูงชน
โธมัส ฮอบส์ (ศตวรรษที่ 16)
- ราชาธิปไตย (สัญญาประชาคม)
จอห์น ล็อค  (กลางศตวรรษที่ 16)
- ประชาธิปไตย  (สัญญาประชาคม)
- อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ เป็นของประชาชน
- อธิปไตยทั้ง ๓ ส่วนนี้คานอำนาจซึ่งกันและกัน
            ศตวรรษที่ 17 ลัทธิสุขวาทนิยม หรือสุขนิยม โดยเจเรมี เบนธัม
            ศตวรรษที่ 18 ลัทธิเสรีนิยม เน้นหลักการ
-          เสรีภาพส่วนบุคคล
-          การค้าเสรี หรือเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
ทำให้เกิดผล
1.      เศรษฐกิจรุ่งเรือง
2.      กำไรเป็นของนายทุน
3.      กรรมกรทำงานหนัก รายได้น้อย
4.      ไม่มีสวัสดิการจากนายจ้าง
5.      มีการใช้แรงงานเด็ก
6.      ทรัพย์สินอยู่ในมือเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ
7.      เกิดแนวคิดสังคมนิยม เน้นสวัสดิการสังคมทั่วไป และเน้นทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจให้เป็นของรัฐ

            ลัทธิสังคมนิยม (ต้นศตวรรษที่ 18) ศัพท์สังคมนิยมหรือโซเซียลิสต์เริ่มนำมาใช้ประมาณปี ค.ศ. 1830 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ในระยะเริ่มแรก โซเซียลิสต์ หมายถึง คำสอนหรือทฤษฎีของรอเบิร์ต โอเว่น (Robert Owen) สำหรับในประเทศฝรั่งเศสศัพท์นี้หมายถึงคำสอนของฟูริเย (Fourier) และแซงต์ - ซิม็อง

ลัทธิประชาธิปไตยเจริญสุดขีด (ปลายศตวรรษที่  18 ต้นศตวรรษที่ 19)

ลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมแนวคาร์ล มาร์กซ์ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918)

ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) โดยมุสโสลินี อิตาลี (ค.ศ. 1922)

ลัทธิชาตินิยมญี่ปุ่น (ค.ศ. 1930)

ลัทธินาซี โดยฮิตเลอร์ เยอรมันนี (ค.ศ. 1933)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1950) เกิดลัทธิการปกครอง 2 ลัทธิ
1. ประชาธิปไตย
                        ลัทธิทุนนิยม ลัทธิทุนนิยม ได้แก่
1.      ระบบเศรษฐกิจเสรี
2.      เอกชนประกอบการ
3.      รัฐไม่ดำเนินการเอง ปล่อยให้เอกชนแข่งขันโดยเสรี

สมมุติฐานของลัทธิทุนนิยม
-          ให้มีการแข่งขันโดยเสรี
-          เศรษฐกิจก้าวหน้าเพราะต่างมุ่งกำไร
-          เอกชนประกอบการย่อมขยันและกระตือรือร้น
-          แข่งขันในการผลิตและจำหน่ายสินค้า ราคาจะไม่แพง คุณภาพย่อมจะดี
สภาพตามเป็นจริงที่เกิดขึ้น
-          ก่อให้เกิดการผูกขาดโดยกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูง ไม่มีการแข่งขัน กลายเป็นการผูกขาด สามารถกำหนดราคาที่ต้องการได้
-          ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการแข่งขันสูง ทำให้มีการลดราคา สินค้าจะมีคุณภาพต่ำ
-          รัฐไม่เข้าไปควบคุม ปล่อยให้มีการประกอบการโดยเสรี จะทำให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสเข้าเปรียบผู้บริโภค
3 ยุคทุนนิยม
-    ทุนนิยมการค้า เน้นติดต่อค้าขายโดยเอกชน
-    ทุนนิยมอุตสาหกรรม มีนายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกิจการต่างๆ ที่เป็นระบบอุตสาหกรรม
-     ทุนนิยมทางการเงิน นายทุนคือธนาคารปล่อยเงินกู้เพื่อการลงทุน ในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบทุนนิยม

2. สังคมนิยมคอมมิวนิสต์แนวคาร์ล มาร์กซ์
          - แพร่หลายในประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เช่น จีน และโซเวียต
            - อุดมการณ์คอมมิวนิสต์แพร่หลายในประเทศที่ไม่มีประสบการณ์ในการปกครองแบบประชาธิปไตย



2. กลุ่มทฤษฎีทางสังคม(Social Groups and Theories)

1.      ลัทธิสังคมนิยม (Socialism)
หลักการ
1.      รัฐมีบทบาททางเศรษฐกิจ เป็นเจ้าของด้านสาธารณูปโภค ดำเนินการเอง
2.      รัฐสวัสดิการ ให้สวัสดิการแก่ประชาชน รักษาพยาบาล การศึกษาและฝึกอาชีพ
2.      สังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism)
หลักการ
1.      ลัทธินายทุนแบบสวัสดิการ
2.      สนับสนุนการค้าเสรี แต่ให้มีสวัสดิการแก่ส่วนรวม

3.      สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
หลักการ
1.      ยกเลิกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
2.      ยกเลิกชนชั้นทางสังคม
3.      ยกเลิกสถาบันทางสังคม
4.      สังคมจะเข้าสู่สังคมนิยมมาร์กซิสต์ระดับต่ำ
5.      เข้าสู่ยุคคอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ สภาวะสมบูรณ์มีเสรีภาพเต็มที่ ปราศจากอำนาจบังคับจากรัฐ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีชนชั้น ไม่มีรัฐที่ต้องกดขี่ รัฐไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป


 3. วิธีการของรูปแบบการปกครองสังคมนิยม 3 แบบ 

1. สังคมนิยมประชาธิปไตย
1.      แบบวิวัฒนาการ ค่อยเป็นค่อยไป
- สิทธิเสรีภาพประชาชน ด้านการเมือง การศึกษา สังคม
2.      พรรคการเมืองหลายพรรคแข่งขันกัน
- พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม
- พรรคกรรมกร
2. สังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ แบบมาร์กซิสต์
1.      สังคมนิยมเป็นเพียงทางผ่าน เป้าหมาย คือ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
2.      เป้าหมาย ไม่มีรัฐ (อรัฐนิยม) ไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไม่มีการเมือง
3.      มีพรรคการเมืองพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์
3. สังคมชาตินิยมหรือชาติสังคมนิยม
1.      อำนาจรัฐสูงสุดอยู่ที่ผู้นำเป็นศูนย์รวม ชาติสำคัญที่สุด สมัยฮิตเลอร์เรืองอำนาจในเยอรมันนี
2.      ทุกคนทำเพื่อชาติ
  

4.ความแตกต่างระหว่างลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตยกับลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

          1. กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง
                        - ประชาธิปไตยใช้กลไกการเลือกตั้ง
                        - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ใช้ความรุนแรง
            2. ทรัพย์สิน
                        - ประชาธิปไตย โอนทรัพย์สินเป็นของส่วนกลางหรือของรัฐ แบบค่อยเป็นค่อยไป มีการจ่ายเงินค่าทดแทน
                        - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โอนทรัพย์สินเป็นของรัฐโดยฉับพลัน ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน
            3. เครื่องมือการผลิต
                        - ประชาธิปไตย โอนเฉพาะส่วนที่จำเป็น เป็นของรัฐ
                        - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ การจำหน่ายจ่ายแจกรวมทั้งเครื่องมือการผลิต เป็นของรัฐทั้งหมด
            4. บทบาทของผู้นำกับประชาชน
                        - ประชาธิปไตย ถือว่าจะต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ ผู้นำมีบทบาทรับใช้ประชาชน มิใช่ผู้ปลุกระดมความต้องการประชาชน
                   - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ผู้นำ กลุ่มผู้นำส่วนหน้า หรือนักปฏิวัติอาชีพ เป็นผู้ปลุกเร้าประชาชนให้ปฏิบัติตาม เพื่อการปฏิวัติล้มล้างระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแบบเดิม
            5. วิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
                        - ประชาธิปไตย ใช้วิธีการชักชวนประชาชนให้ร่วมมือโดยสันติวิธี
                        - สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ใช้กำลังที่รุนแรงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งถือว่าไม่มีผลเสียหายแต่ประการใด
            6. ทางเลือกในการปรับปรุงหรือล้มล้าง
                        - ประชาธิปไตย ถือว่าไม่ใช่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง คือ ลัทธินายทุนและลัทธิที่รัฐดำเนินกิจการเองทั้งหมด แต่ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงลัทธินายทุนให้เข้าสู่เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยใช้ระยะเวลา
                        - สังคมนิยม  ถือว่าไม่มีเศรษฐกิจแบบนายทุนแบบเต็มรูปแบบ แต่มีเพียงระบบที่เอนเอียงไปทางนายทุนเท่านั้น เศรษฐกิจที่พึงประสงค์เป็นแบบที่เอนเอียงไปสู่สังคมนิยม มีสภาพยังไม่ครบถ้วนทีเดียว แต่ก็จัดว่าอยู่ในระบบใดระบบหนึ่งได้
                        - คอมมิวนิสต์ ถือว่าต้องล้มล้างลัทธินายทุนด้วยการปฏิวัติ



5. มุมมองในแง่รัฐศาสตร์ หรือการเมืองในลัทธิสังคมนิยมแบบบริสุทธิ์ (ทฤษฎี)


1.      สังคมนิยมประชาธิปไตย
- รัฐดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจ
- ประชาชนจะได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน ได้รับผลดี มีความเสมอภาคกัน
- เศรษฐกิจที่จำเป็นแก่ประชาชน รัฐเป็นผู้ดำเนินการ
- รัฐให้สวัสดิการ
เสรีประชาธิปไตย
- เกิดการแข่งขันทางการค้า ธุรกิจ
- เศรษฐกิจดี
- ประชาชนมีการแข่งขันสูง ทำให้มั่งคั่งสมบูรณ์
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
- รัฐดำเนินกิจการเองทั้งหมด
- ดำเนินการโดยชนชั้นเดียว คือ ชนชั้นกรรมาชีพ
- ก่อให้เกิดผลดี คือ มีความเท่าเทียมกัน
แง่สังคมวิทยาการเมือง มองพฤติกรรมที่เป็นผลจริงๆ
          สังคมนิยมประชาธิปไตย
- ประชาชนจะรอรับบริการจากรัฐ
- ไม่มีความกระตือรือร้น
- ไม่มีการแข่งขัน
เสรีประชาธิปไตย
- ความร่ำรวยจะกระจุก ไม่กระจาย
- ความยากจนจะกระจาย
- ความสามารถในการแข่งขันไม่เท่าเทียมกัน
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
- ไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากทำงาน
- ไม่มีการแข่งขัน
- ไม่มีการสร้างงานใหม่ๆ


มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
15:13 | หนังออนไลน์ใหม่ | No comments

0 comments:

แสดงความคิดเห็น